ระบบการทำงานของ LifeSmart

Last updated: 12 ธ.ค. 2561  |  7371 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ระบบการทำงานของ LifeSmart

หลักการทำงานระบบสมาร์ทโฮมของ LifeSmart

ก่อนอื่นเลยต้องเกริ่นกันก่อนว่าระบบสมาร์ทโฮมในปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อ แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการเชื่อมต่อผ่านระบบ Internet กันแทบทั้งหมด เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งานให้มากขึ้นกว่าระบบเดิม

การเชื่อมต่อของ LifeSmart จะมีความต้องการเพียงแค่ 2 อย่าง คือ

  1. Router ที่มีการเชื่อมต่อ Internet
  2. สาย LAN สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Gateway เพื่อให้อุปกรณ์สามารถ online ได้

จะเห็นว่าอุปกรณ์หลักภายในบ้าน มีเพียง Router เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีช่อง LAN Out ออกมาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะมาอธิบายถึงประเภทอุปกรณ์และการเชื่อมต่อของ LifeSmart กันเลยนะครับ

อุปกรณ์ของ LifeSmart จะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ

  1. Type 1 - ประเภท Standalone - อุปกรณ์ประเภทนี้ต้องการเพียงแค่สัญญาณ WIFI เพียงเท่านั้น ซึ่งแค่นี้ก็สามารถทำงานได้แล้ว เพียงแค่ Install App แล้วเลือก Add Device แล้วทำตามขั้นตอนในแอป ก็สามารถใช้งานได้ทันที โดยอุปกรณ์ประเภทนี้จะมีอยู่ 2 ตัว คือ Smart Home WIFI Camera และ

  2. Type 2 - ประเภท Full System - อุปกรณ์ประเภทนี้จะต้องการ Gateway ซึ่งก็คือ Smart Station สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ให้ online ขึ้นระบบ Cloud ได้ ซึ่งก็จะเป็นอุปกรณ์เช่น Sensor ต่างๆ, Smart Plug, Smart Siren เป็นต้น ซึ่งข้อดีของระบบ Full System นี้ นั่นก็คือ เราสามารถที่จะตั้งค่าคำสั่งการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นให้ทำงานร่วมกันได้ เช่น
  • เมื่อใช้ Door/Window Sensor ร่วมกับ Smart Siren เราสามารถตั้งคำสั่งให้ Smart Siren ร้องเตือนทันทีเมื่อมีการบุกรุก
  • เมื่อใช้ Clicker ร่วมกับ Smart Touch Switch เราสามารถตั้งคำสั่งให้ Clicker ทำการปิดไฟทั่วทั้งบ้านเมื่อเรากด Clicker เพียงครั้งเดียว
  • เมื่อเราใช้ Environmental Sensor คู่กับ SPOT เราสามารถตั้งคำสั่งให้ Spot เปิดแอร์เปิดทันทีเมื่ออุณหภูมิภายในห้องร้อนเกิน 27 องศาเซลเซียส เป็นต้น

ข้อดี - ข้อเสีย

Type 1 - ประเภท Standalone

ข้อดี

  • ประหยัด ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์เยอะ

ข้อเสีย

  • ไม่สามารถเพิ่มอุปกรณ์ในภายหลังได้ (แต่หากซื้อ Smart Station เพิ่ม ก็สามารถเพิ่มอุปกรณ์อื่นภายหลังได้เช่นกัน)

Type 2 - ประเภท Full System

ข้อดี

  • สามารถเพิ่มอุปกรณ์ทีหลังได้มากกว่า 400 ชิ้น
  • สามารถสั่งงาน scene ได้
  • สามารถพ่วง trigger ระหว่างอุปกรณ์ได้
  • สามารถตั้งค่าคำสั่ง schedule ของ scene ได้
  • สามารถสร้างระบบ Full System Smart Home ได้

ข้อเสีย

  • ใช้งบประมาณมากกว่าแบบ Standalone

 

ทั้งหมดนี้คือการอธิบายการทำงานของอุปกรณ์และระบบของ LifeSmart แบบเข้าใจได้ง่ายๆนะครับ

หากใครมีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติม สามารถฝากข้อความหรือ add line เราเข้ามาได้ที่ @lifesmart_th หรือ E-mail : service@lifesmartthailand.com ครับผม


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้